วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมา

     

                โดยที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพเหมาะสม สมควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา๔๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์บริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่๕) พ.ศ.๒๕๔๖และมาตรา๗แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งองค์บริหารส่วนตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเทศบาลโพธิ์เสด็จ

         องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลตามประการนี้ มีแนวเขตตามคำบรรยายแนวเขตและแผนนี่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย และพ้นสภาพแห่งการเป็นองค์การ บริหารส่วนตำบล รวมทั้งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ได้มีประกาศนี้จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเป็น ต้นไป บรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลโอนไปเป็นของเทศบาลที่จัดตั้งขึ้น และบรรดาข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้ใช้บังคับในเรื่องใดอยู่ก่อนแล้วคงใช้บังคับได้ต่อไปเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการเทศบัญญัติในเรื่องนั้นขึ้นใหม่ ตามมาตรา๔๒แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่๕) พ.ศ.๒๕๔๖

         ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

     
วิสัยทัศน์
                        " ส่งเสริมการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสังคม เพื่อชุมชนเข้มแข็ง "

พันธกิจ
            1. ส่งเสริม เร่งพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาและสนับสนุนด้านงบประมาณให้สถานศึกษา
            2. เร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
            3. เร่งพัฒนาสภาพบ้านเมืองและชุมชนให้เป็นชุมชนน่าอยู่
            4. เร่งพัฒนาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
            5. เสริมสร้าง ปลูกฝัง คุณธรรมและจริยธรรม พร้อมกับอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี 
ที่ดีงามของท้องถิ่น
            6. เร่งพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการบริหารจัดการ         

สภาพและข้อมูลพื้นฐาน

   
     ที่ตั้ง และอาณาเขต
            ตำบลโพธิ์เสด็จตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ทั้งหมด 25.740 ตารางกิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 5 กิโลเมตร โดยการเดินทางตามทางหลวงสายราชดำเนิน-ถนนกระโรมหัวอิฐ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อโดยรอบดังนี้
            ทิศเหนือ จด เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชและตำบลนาเคียน
            ทิศใต้ จด ตำบลมะม่วงสองต้น และตำบลไชยมนตรี
            ทิศตะวันออก จด เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
            ทิศตะวันตก จด ตำบลกำแพงเซาและตำบลท่างิ้ว
    ลักษณะ ภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
            ตำบลโพธิ์เสด็จมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ 100% คิดเป็นเนื้อที่ 25.74 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกร
            ลักษณะสภาพอากาศทั่วไป แบบร้อนชื้นมีฝนตกทั้งปี ซึ่งแบ่งฤดูกาลได้ 2 ฤดู คือฤดูร้อน และฤดูฝนโดยแบ่งช่วงระยะเวลาได้ดังนี้ ฤดูร้อนตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนมีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล และฤดูฝนตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝน ตกชุก และประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ

            ตำบลโพธิ์เสด็จ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้านคือ
                  หมูที่ 1 บ้านพระมงกุฎ หมู่ที่ 2 บ้านนอกไร่
                  หมู่ที่ 3 บ้านไสขัน หมู่ที่ 4 บ้านยวนแหล
                  หมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ 6 บ้านนารี
                  หมู่ที่ 7 บ้านคลองห้วย หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์เสด็จ
                  หมู่ที่ 9 บ้านเตาหม้อ
    ด้านเศรษฐกิจ
            ประชากรในตำบลโพธิ์เสด็จจะประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ คือ การเกษตร อุตสาหกรรมและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งตามลักษณะอาชีพได้ดังนี้
     ด้านการเกษตร
            ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ยางพารา เงาะ มังคุด และมันเทศ มีพื้นที่ทำการเกษตรรวม 4,680ไร่ โดยแยกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ
            ทำนา 475 ไร่ ร้อยละ10.14 จำนวน 203 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 45,000 บาท/ปี/ครอบครัว
            ทำสวน 3,760 ไร่ ร้อยละ 80.34 จำนวน 1,148 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 85,000บาท/ปี/ครอบครัว
            ทำไร่ 445 ไร่ ร้อยละ 9.50 จำนวน 150 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 55,000 บาท/ปี/ครอบครัว
    ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์
            โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง
            ร้านค้า 73 แห่ง
            ปั้มน้ำมัน 8 แห่ง
            ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง 5 แห่ง
            โรงแรม 2 แห่ง

    รายได้เฉลี่ย
            รายได้รวมเฉลี่ย / คน / ปี 54,000 บาท
            รายได้รวมเฉลี่ย / ครอบครัว 75,000 บาท

    จำนวนประชากร
            จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,740 คน
            ชาย 4,783 คน
            หญิง 4,957 คน

    ด้านสาธารณูปโภค
            สถานีอนามัย 2 แห่ง
            ส้วมซึม 2,150 แห่ง
            ไฟฟ้าสาธารณะ 45 ดวง
            มีไฟฟ้าใช้จำนวนร้อยละ 98 ของครัวเรือนทั้งหมด
            โทรศัพท์สาธารณะ 4 แห่ง
            ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ยังไม่มี
            ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 ศูนย์

    แหล่งน้ำ
       แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ
            - หนองกง พื้นที่ได้รับประโยชน์ 30 ไร่ จำนวน 10 ครอบครัว
            - หนองหาร พื้นที่ได้รับประโยชน์ 30 ไร่ จำนวน 15 ครอบครัว
       แหล่งน้ำขนาดเล็ก
            - บ่อน้ำตื้น 1,798 แห่ง
            - สระน้ำ 2 แห่ง
            - บ่อบาดาล 3 แห่ง
            - ประปา 1 แห่ง
       การชลประทาน
            - คลองส่งน้ำชลประทานท่าดี พื้นที่ได้รับประโยชน์ 500 ไร่ จำนวน 220 ครอบครัว
ด้านการศึกษา
            สถานศึกษา 3 แห่ง
            โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 1 แห่ง
            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์

ด้านศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
        วัด 4 แห่ง ได้แก่วัดวนาราม วัดโพธิ์ทอง วัดโพธิ์เสด็จ และวัดทุ่งแย้
        มัสยิด 4 แห่ง
        ประชากรนับถือศาสนาพุทธ 9,255 คน คิดเป็นร้อยละ 98.31
        ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 160 คน คิดเป็นร้อยละ 1.69

ด้านคมนาคม     ถนน 92 สาย รวมระยะทาง 51กิโลเมตร แยกเป็น
            คสล. 24 สาย รวมระยะทาง 15 กิโลเมตร
            ลาดยาง 7 สาย รวมระยะทาง 9 กิโลเมตร
            ดินลูกรัง 17 สาย รวมระยะทาง 6 กิโลเมตร
            หินคลุก 44 สาย รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร
     แหล่งท่องเที่ยว/จุดดูงาน
            สนามชนโคบ้านยวนแหล
            หัตถกรรมจักสานย่านลิเพา หมู่4
     องค์กรในท้องถิ่น
            มีกลุ่มออมทรัพย์จำนวน 5 กลุ่ม
     กลุ่มอาชีพ จำนวน 3 กลุ่ม
            -กลุ่มหัตถกรรมจักสานย่านลิเพา หมู่ 4
            -กลุ่มเพาะเห็ด
            -กลุ่มปลูกมันสำปะหลัง
            กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 8 กองทุน
            กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 กลุ่ม
            กลุ่มสตรี หรือ อสม. จำนวน 9 กลุ่ม
            กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 2 กลุ่ม